ในขณะที่ผู้หญิงอายุ 50 ปี หมดโอกาสมีลูกโดยวิธีธรรมชาติ แต่ผู้ชายที่สุขภาพแข็งแรงกลับยังคงดำรงความสามารถในการเจริญพันธุ์ได้เป็นอย่างดี จนอาจเรียกได้ว่าไม่มีขีดจำกัดในด้านอายุ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ลดความสามารถในการเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ได้แก่
1. อายุที่สัมพันธ์กับการลดลงของกิจกรรมทางเพศ
2. การลดลงของกระบวนการสร้างอสุจิ
3. อายุและภาวะเจริญพันธุ์ของภรรยา
ผู้ชายอายุ 50 ปียังมีความต้องการทางเพศสูง การมีเพศสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอย่อมจะช่วยรักษาความมั่นคงของครอบครัวไว้ จากการศึกษาของ เวอร์เวิร์ด ( Verwoerdt et al ) พบว่าเพียง 15 %ของชายอายุเกิน 60 ปีเท่านั้น ที่ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์
อายุ ความต้องการทางเพศและฮอร์โมนเพศ
ในผู้ชายนั้น ความต้องการทางเพศจะต้องอาศัยฮอร์โมนเพศชาย ( testosterone ) แม้ภายหลังอัณฑะหยุดทำงานไปแล้ว หลักฐานที่สนับสนุนได้จาก การศึกษาทดลองให้ฮอร์โมนเพศทดแทนในผู้ชายที่มีความรู้สึกทางเพศเสื่อมจากระบบคำสั่งจากสมอง ( Hypogonadal men ) ทำงานบกพร่อง โดยฮอร์โมนจะไปกระตุ้นให้ความรู้สึกทางเพศและการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีขึ้นอย่างมาก
การลดลงของฮอร์โมนเพศชายเริ่มปรากฏชัดตั้งแต่อายุ 50-55 ปี ประมาณ 0.8%ต่อปีและเมื่ออายุ 70 ปีระดับฮอร์โมนเพศ( free testosterone )จะเหลือเพียง 40% ของตอนอายุ 25 ปี เท่านั้นซึ่งเป็นผลมาจากที่สมอง ( Hypothalamic pituitary origin ) หรืออัณฑะ( decline in number of Leydig cell )ทำงานลดลง
ลักษณะอาการแสดงของผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศต่ำ คือ มีการลดลงของเส้นผม,ขนตามตัว ,ขนาด กำลังและความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ รวมทั้งความต้องการทางเพศ แต่ปริมาณไขมันบริเวณหน้าท้องและภาวะกระดูกเปราะบางกลับมากขึ้น
มีการศึกษาในผู้ชายที่สุขภาพแข็งแรงจำนวน 77 คน อายุระหว่าง 45-74 ปี พบว่า ผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศสูงจะมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอกว่าผู้ที่มีฮอร์โมนเพศต่ำกว่า ซึ่งเหมือนกับการทดลองให้ยาฮอร์โมนเพศ ( Testosterone 200 mg)เป็นเวลา 6 สัปดาห์กับผู้ชายจำนวนหนึ่งที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัวอายุ 40-67 ปี แล้วยังผลให้มีความต้องการทางเพศและเพศสัมพันธ์มากขึ้น
ในผู้หญิงนั้น ฮอร์โมนเพศชายก็มีความสำคัญต่อความต้องการทางเพศด้วยเช่นเดียวกัน โดยพบว่า ผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งหมด ซึ่งแทบจะไม่มีฮอร์โมนเพศชายหลงเหลืออยู่เลย จะมีผลให้ความต้องการทางเพศลดลงอย่างมาก
อายุกับความถี่บ่อยของการมีเพศสัมพันธ์
ความถี่บ่อยของการร่วมเพศจะลดลงไปตามอายุ จากช่วงมากที่สุด ระหว่างอายุ 20-25 ปี มีความถี่ เฉลี่ย 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ลดลงเป็น 1 ครั้งต่อสัปดาห์ที่อายุ 55-60 ปี และลดลงเหลือ 3 ครั้งใน 1 เดือนที่อายุ 70 ปี หลังจากอายุ 75 ปีขึ้นไปจะมีเพศสัมพันธ์เพียง 1.7 ครั้ง ต่อ 1 เดือนเท่านั้น
นอกจากนี้ การอ่อนตัวของอวัยวะเพศชายระหว่างร่วมเพศ ( Impotence ) จะพบมากขึ้นตามอายุเช่นเดียวกัน โดยก่อนอายุ 30 ปี แทบไม่มีการเกิดภาวะอ่อนตัวของอวัยวะเพศเลย แต่พออายุ 55 ปีจะเกิดภาวะนี้ประมาณ 8% , เพิ่มเป็น 20% ที่อายุ 65 ปี , 40%ที่อายุ 70 ปี หลังจากนี้ จะเกิดมากกว่า 50% ซึ่งฮอร์โมนเพศชาย( Testosterone ) มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและส่วนใหญ่ระดับฮอร์โมนเพศจะลดลงมากกว่า 50%
การสร้างตัวอสุจิและความสามารถในการปฏิสนธิ ( Spermatogenesis & Sperm Fertilizing Capacity)
อิทธิพลของอายุต่อคุณภาพของอสุจิ พบว่า น้ำอสุจิที่หลั่งออกมา มีปริมาณลดลงตั้งแต่อายุ 35 ปี ซึ่งแม้ว่า กระบวนการสร้างจะลดลง แต่คุณภาพและความสามารถในการปฏิสนธิยังดีอยู่ ดังนั้น ไม่ว่าอายุผู้ชายจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใดก็ตาม ภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลง จึงน่าจะเป็นผลมาจากสาเหตุอื่น เช่น ความต้องการทางเพศที่ลดลงและการมีเพศสัมพันธ์ ที่น้อยเกินไป
อายุกับภาวะเจริญพันธุ์ของคู่สมรส
ปัจจุบัน พบว่า มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของเด็กที่เกิดจากการแต่งงานของสามีที่อายุมากกว่า 60ปีกับสตรีอายุน้อยๆ นี่จึงเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่า อายุของฝ่ายชายไม่ใช่สาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยาก แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมาจำนวนมาก มีข้อมูลตรงกันว่า ภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
หลักฐานอย่างหนึ่ง ก็คือ อัตราการตั้งครรภ์สะสมจากการฉีดเชื้อของชายอื่น ( donor semen ) จะลดลงในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 31-35 ปีเป็นต้นไป นอกจากนั้น การทำเด็กหลอดแก้ว( IVF )หรือ อิ๊กซี่( ICSI ) ในหญิงที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการตั้งครรภ์ลดลงอย่างมากเช่นเดียวกัน
อายุของผู้หญิงที่มากขึ้นโดยเฉพาะอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะมีผลทำให้รังไข่ดื้อต่อยากระตุ้น นอกจากนั้น เวลาเจาะเก็บไข่ ก็จะได้จำนวนไข่สุกสมบูรณ์ที่น้อยมาก รวมทั้งมีอัตราการแท้งสูงถึง 50 % อีกด้วย
สำหรับปัจจัยทางด้านมดลูก Flamigniและคณะ รายงานว่า ตัวอ่อนที่เกิดจากไข่ของผู้หญิงอายุเกิน 40 ปีมีอัตราการฝังตัวเพียง 10 % ในขณะที่ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 35 ปีมีอัตราการฝังตัวสูงถึง 23 % ซึ่งตรงกับงานของMeldrum ที่ศึกษา พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่อุ้มบุญซึ่งอายุน้อยกว่า 40 ปีเปรียบเทียบกับที่อายุมากกว่า 40 ปี จะเท่ากับ 43% และ 8% ตามลำดับ
โดยสรุปแล้ว อายุของผู้ชายไม่ได้มีผลโดยตรงต่อคุณภาพและความสามารถในการปฏิสนธิของอสุจิ แม้ว่าปริมาณจะลดลงไปบ้างตามอายุ แต่อายุของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นย่อมมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของไข่ หากมองจากทั้งสองฝ่าย จะพบว่า ก่อนอายุ 35 ปี การเปลี่ยนแปลงของภาวะเจริญพันธุ์ของคู่สมรส จะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมทางด้านเพศสัมพันธ์ ( Coital Behavior ) เป็นหลัก แต่หลังจากอายุ 35 ปีส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระวิทยา ( Physiology ).
“อายุ”ไม่ใช่เพียงตัวเลข มันมีความหมายมากกว่านั้นอย่างมาก “อายุ”ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เรียนรู้ความเป็นผู้ใหญ่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และความรักที่ปราศจากเงื่อนไขจากการเป็นพ่อเป็นแม่ เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะหันกลับมามองคนที่อยู่เคียงข้างและบอกกับเธอว่า “โลกนี้น่าอยู่…เพราะมีคู่ชีวิต.”
&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
1. อายุที่สัมพันธ์กับการลดลงของกิจกรรมทางเพศ
2. การลดลงของกระบวนการสร้างอสุจิ
3. อายุและภาวะเจริญพันธุ์ของภรรยา
ผู้ชายอายุ 50 ปียังมีความต้องการทางเพศสูง การมีเพศสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอย่อมจะช่วยรักษาความมั่นคงของครอบครัวไว้ จากการศึกษาของ เวอร์เวิร์ด ( Verwoerdt et al ) พบว่าเพียง 15 %ของชายอายุเกิน 60 ปีเท่านั้น ที่ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์
อายุ ความต้องการทางเพศและฮอร์โมนเพศ
ในผู้ชายนั้น ความต้องการทางเพศจะต้องอาศัยฮอร์โมนเพศชาย ( testosterone ) แม้ภายหลังอัณฑะหยุดทำงานไปแล้ว หลักฐานที่สนับสนุนได้จาก การศึกษาทดลองให้ฮอร์โมนเพศทดแทนในผู้ชายที่มีความรู้สึกทางเพศเสื่อมจากระบบคำสั่งจากสมอง ( Hypogonadal men ) ทำงานบกพร่อง โดยฮอร์โมนจะไปกระตุ้นให้ความรู้สึกทางเพศและการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีขึ้นอย่างมาก
การลดลงของฮอร์โมนเพศชายเริ่มปรากฏชัดตั้งแต่อายุ 50-55 ปี ประมาณ 0.8%ต่อปีและเมื่ออายุ 70 ปีระดับฮอร์โมนเพศ( free testosterone )จะเหลือเพียง 40% ของตอนอายุ 25 ปี เท่านั้นซึ่งเป็นผลมาจากที่สมอง ( Hypothalamic pituitary origin ) หรืออัณฑะ( decline in number of Leydig cell )ทำงานลดลง
ลักษณะอาการแสดงของผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศต่ำ คือ มีการลดลงของเส้นผม,ขนตามตัว ,ขนาด กำลังและความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ รวมทั้งความต้องการทางเพศ แต่ปริมาณไขมันบริเวณหน้าท้องและภาวะกระดูกเปราะบางกลับมากขึ้น
มีการศึกษาในผู้ชายที่สุขภาพแข็งแรงจำนวน 77 คน อายุระหว่าง 45-74 ปี พบว่า ผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศสูงจะมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอกว่าผู้ที่มีฮอร์โมนเพศต่ำกว่า ซึ่งเหมือนกับการทดลองให้ยาฮอร์โมนเพศ ( Testosterone 200 mg)เป็นเวลา 6 สัปดาห์กับผู้ชายจำนวนหนึ่งที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัวอายุ 40-67 ปี แล้วยังผลให้มีความต้องการทางเพศและเพศสัมพันธ์มากขึ้น
ในผู้หญิงนั้น ฮอร์โมนเพศชายก็มีความสำคัญต่อความต้องการทางเพศด้วยเช่นเดียวกัน โดยพบว่า ผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งหมด ซึ่งแทบจะไม่มีฮอร์โมนเพศชายหลงเหลืออยู่เลย จะมีผลให้ความต้องการทางเพศลดลงอย่างมาก
อายุกับความถี่บ่อยของการมีเพศสัมพันธ์
ความถี่บ่อยของการร่วมเพศจะลดลงไปตามอายุ จากช่วงมากที่สุด ระหว่างอายุ 20-25 ปี มีความถี่ เฉลี่ย 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ลดลงเป็น 1 ครั้งต่อสัปดาห์ที่อายุ 55-60 ปี และลดลงเหลือ 3 ครั้งใน 1 เดือนที่อายุ 70 ปี หลังจากอายุ 75 ปีขึ้นไปจะมีเพศสัมพันธ์เพียง 1.7 ครั้ง ต่อ 1 เดือนเท่านั้น
นอกจากนี้ การอ่อนตัวของอวัยวะเพศชายระหว่างร่วมเพศ ( Impotence ) จะพบมากขึ้นตามอายุเช่นเดียวกัน โดยก่อนอายุ 30 ปี แทบไม่มีการเกิดภาวะอ่อนตัวของอวัยวะเพศเลย แต่พออายุ 55 ปีจะเกิดภาวะนี้ประมาณ 8% , เพิ่มเป็น 20% ที่อายุ 65 ปี , 40%ที่อายุ 70 ปี หลังจากนี้ จะเกิดมากกว่า 50% ซึ่งฮอร์โมนเพศชาย( Testosterone ) มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและส่วนใหญ่ระดับฮอร์โมนเพศจะลดลงมากกว่า 50%
การสร้างตัวอสุจิและความสามารถในการปฏิสนธิ ( Spermatogenesis & Sperm Fertilizing Capacity)
อิทธิพลของอายุต่อคุณภาพของอสุจิ พบว่า น้ำอสุจิที่หลั่งออกมา มีปริมาณลดลงตั้งแต่อายุ 35 ปี ซึ่งแม้ว่า กระบวนการสร้างจะลดลง แต่คุณภาพและความสามารถในการปฏิสนธิยังดีอยู่ ดังนั้น ไม่ว่าอายุผู้ชายจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใดก็ตาม ภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลง จึงน่าจะเป็นผลมาจากสาเหตุอื่น เช่น ความต้องการทางเพศที่ลดลงและการมีเพศสัมพันธ์ ที่น้อยเกินไป
อายุกับภาวะเจริญพันธุ์ของคู่สมรส
ปัจจุบัน พบว่า มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของเด็กที่เกิดจากการแต่งงานของสามีที่อายุมากกว่า 60ปีกับสตรีอายุน้อยๆ นี่จึงเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่า อายุของฝ่ายชายไม่ใช่สาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยาก แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมาจำนวนมาก มีข้อมูลตรงกันว่า ภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
หลักฐานอย่างหนึ่ง ก็คือ อัตราการตั้งครรภ์สะสมจากการฉีดเชื้อของชายอื่น ( donor semen ) จะลดลงในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 31-35 ปีเป็นต้นไป นอกจากนั้น การทำเด็กหลอดแก้ว( IVF )หรือ อิ๊กซี่( ICSI ) ในหญิงที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการตั้งครรภ์ลดลงอย่างมากเช่นเดียวกัน
อายุของผู้หญิงที่มากขึ้นโดยเฉพาะอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะมีผลทำให้รังไข่ดื้อต่อยากระตุ้น นอกจากนั้น เวลาเจาะเก็บไข่ ก็จะได้จำนวนไข่สุกสมบูรณ์ที่น้อยมาก รวมทั้งมีอัตราการแท้งสูงถึง 50 % อีกด้วย
สำหรับปัจจัยทางด้านมดลูก Flamigniและคณะ รายงานว่า ตัวอ่อนที่เกิดจากไข่ของผู้หญิงอายุเกิน 40 ปีมีอัตราการฝังตัวเพียง 10 % ในขณะที่ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 35 ปีมีอัตราการฝังตัวสูงถึง 23 % ซึ่งตรงกับงานของMeldrum ที่ศึกษา พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่อุ้มบุญซึ่งอายุน้อยกว่า 40 ปีเปรียบเทียบกับที่อายุมากกว่า 40 ปี จะเท่ากับ 43% และ 8% ตามลำดับ
โดยสรุปแล้ว อายุของผู้ชายไม่ได้มีผลโดยตรงต่อคุณภาพและความสามารถในการปฏิสนธิของอสุจิ แม้ว่าปริมาณจะลดลงไปบ้างตามอายุ แต่อายุของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นย่อมมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของไข่ หากมองจากทั้งสองฝ่าย จะพบว่า ก่อนอายุ 35 ปี การเปลี่ยนแปลงของภาวะเจริญพันธุ์ของคู่สมรส จะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมทางด้านเพศสัมพันธ์ ( Coital Behavior ) เป็นหลัก แต่หลังจากอายุ 35 ปีส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระวิทยา ( Physiology ).
“อายุ”ไม่ใช่เพียงตัวเลข มันมีความหมายมากกว่านั้นอย่างมาก “อายุ”ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เรียนรู้ความเป็นผู้ใหญ่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และความรักที่ปราศจากเงื่อนไขจากการเป็นพ่อเป็นแม่ เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะหันกลับมามองคนที่อยู่เคียงข้างและบอกกับเธอว่า “โลกนี้น่าอยู่…เพราะมีคู่ชีวิต.”
&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
พ.ต.อ. นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น