03 ธันวาคม 2559

การผสมเทียม 2

การผสมเทียม 2

(Artificial Insemination)

ตอน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” 

(PROGNOSTIC INDICATORS FOR INTRAUTERINE INSEMINATION)

คนไข้มีลูกยากต่างฝากความหวังไว้ที่หมอ แล้วเฝ้ารอความสำเร็จ โดยหารู้ไม่ว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จ ส่วนใหญ่อยู่ที่ตัวคนไข้เอง

เป็นเวลากว่า 15 ปีแล้วที่แพทย์นำวิธีการผสมเทียมมาใช้กับคนไข้มีลูกยากและประสบความสำเร็จดีพอสมควร วิธีการผสมเทียมที่นิยมใช้มากที่สุด คือ การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (INTRAUTERINE INSEMINATION ชื่อย่อ IUI) 

ข้อมูลมากมายทำให้เรารู้ว่า ผลสำเร็จของการฉีดเชื้อ (IUI) เกิดจากการประสานงานกันอย่างพอดีระหว่างการกระตุ้นไข่การบังคับให้ไข่ตกในเวลาที่กำหนด และการฉีดเชื้อที่แข็งแรงสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่ไข่ตก นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นอีกที่พอจะบอกเป็นนัยๆว่า น่าจะตั้งครรภ์

การฉีดเชื้อ (IUI) โดยไม่กระตุ้นไข่ แทบจะไม่ได้ผลเลย ส่วนการกระตุ้นไข่โดยไม่ฉีดเชื้อ (IUI) แต่ให้คนไข้ไปร่วมเพศกันเองในช่วงเวลาที่ไข่ตก กลับได้ผลสำเร็จดีพอสมควร ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่า จำนวนไข่ที่มีคุณภาพซึ่งตกออกมา เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของความสำเร็จ



o ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์

I. ปัจจัยจากฝ่ายชาย (MALE FACTORS)

      1.1 กรณี เชื้ออ่อนมาก” (< 10 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรให้ผลสำเร็จน้อยมากจากวิธีการนี้ (ตั้งครรภ์ไม่ถึง 10%)

BURR และคณะ อ้างว่าจำนวนเชื้ออสุจิ (ภายหลังคัดเชื้อที่มากกว่า ล้านตัว/มิลลิลิตร ยังคงมีโอกาสตั้งครรภ์ด้วยวิธีการนี้ แต่เท่าที่มีรายงาน พบว่า อัตราการตั้งครรภ์จะต่างกันอย่างมากในกลุ่มคนไข้ที่มีจำนวนเชื้ออสุจิ >20 ล้านตัว/มิลลิลิตร (ตั้งครรภ์ 20-30%) เทียบกับ < 20 ล้านตัว/มิลลิลิตร (ตั้งครรภ์เพียง 10% เท่านั้น)

จากรายงานของ TOMLINSON และคณะที่ศึกษาการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูกจำนวน 260 รอบเดือน พบว่า จำนวนเชื้ออสุจิ <10 ล้านตัว/มิลลิลิตร (ก่อนคัดเชื้อหรือ < 3ล้านตัว/มิลลิลิตร (หลังคัดเชื้อจะไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเลย

 รูปร่างตัวอสุจิผิดปกติ

 BURR และคณะ รายงานว่า กลุ่มคนไข้ที่เชื้ออสุจิมีรูปร่างปกติ < 10% จะให้ผลสำเร็จของการตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 4.3  ในขณะที่กลุ่มคนไข้เชื้ออสุจิมีรูปร่างปกติ > 10% จะมีอัตราการตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ 18.2

การเคลื่อนไหวตรงไปข้างของ อสุจิ” (PROGRESSIVE MOTILITY) มีรายงานว่า ในกลุ่มคนไข้ที่เชื้ออสุจิมีการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า > 40% เทียบกับน้อยกว่า < 40% จะมีอัตราการตั้งครรภ์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 27 และ ร้อยละ 13 ตามลำดับ)



ปัจจัยทางฝ่ายหญิง (FEMALE FACTORS)

อายุ  อายุสตรีที่มากกว่า 40 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์เพียงร้อยละ เท่านั้น นับว่า น้อยมาก จึงอาจถือได้ว่า การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI) ได้ประโยชน์น้อยมากในสตรีเหล่านี้

จำนวนรอบเดือน

        การฉีดเชื้อ (IUIในรอบเดือนแรก มีโอกาสตั้งครรภ์ 20-25% (เฉลี่ย 22.3%)

         การฉีดเชื้อ(IUIในรอบเดือนที่ มีโอกาสตั้งครรภ์ 15-20% (เฉลี่ย 18%)

        การฉีดเชื้อ(IUIในรอบเดือนที่ มีโอกาสตั้งครรภ์ 10-15% (เฉลี่ย 14%)

อัตราการตั้งครรภ์สะสมเฉลี่ยใน รอบเดือน เท่ากับ 19.6% 

สาเหตุ

     การตกไข่ผิดปกติ (OVULATORY DYSFUNCTION) มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 30 ต่อรอบเดือน

*      กลุ่มที่หาสาเหตุไม่พบ (IDIOPATHIC) มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 30 ต่อรอบเดือน

*      สตรีในกลุ่มที่มีสาเหตุจากท่อนำไข่ (TUBAL FACTOR), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (ENDOMETRIOSIS) และหลายๆสาเหตุร่วมกัน (MULTIEACTORIAL FACTORS) มีอัตราการตั้งครรภ์ใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 9-14 ต่อรอบเดือน ซึ่งนับว่าค่อนข้างน้อย

2.4  จำนวนไข่ที่สุกออกมา (MATURE FOLLICLES)

ไข่” สมบูรณ์ที่จะทำการกระตุ้นให้ตกออกมา ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  > 18 มิลลิลิตร หากมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 16 มิลลิลิตร จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้น

จากการศึกษา พบว่า การฉีดเชื้อ (IUI) ในกรณี ไข่” สุกสมบูรณ์ที่ตกออกมาจำนวน ใบ, 2 ใบ, 3 ใบและ ใบ จะมีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 7.6, 26.0, 37.0 และ 44.0 ต่อรอบเดือน ตามลำดับ ไข่” สุกสมบูรณ์ยิ่งออกมามากเท่าใด โอกาสตั้งครรภ์และเป็นแฝดมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นในรอบเดือนใดที่มีจำนวน ไข่” สุกสมบูรณ์มากกว่า ใบ จึงควรยกเลิกการฉีดเชื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะครรภ์แฝด

        2.5       ระดับฮอร์โมน FSH ซึ่งเป็น คำสั่ง” จากสมอง (BASAL FOLLICULAR STIMULATING HORMONE) 

ระดับ FSH ในวันที่ ของรอบเดือน ที่มากกว่า 10 หน่วย (mIU) ต่อมิลลิลิตร จะมีผลทำให้การเจริญเติบโตและขนาดของ ไข่” (FOLLICLES) ลดลง รวมทั้งระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนภายหลังไข่ตกแล้วลดลงด้วย

ระดับ FSH (วันที่ ของรอบเดือนที่มากกว่า 10 หน่วย (mIU) ต่อมิลลิลิตร จะมีผลให้โอกาสตั้งครรภ์ลดลงอย่างมาก

ระดับ FSH ในวันที่ ของรอบเดือน ที่มากกว่า 10 หน่วย (mIU) ต่อมิลลิลิตร ที่มากกว่า 23 หน่วย (mIU) ต่อมิลลิลิตร จากงานวิจัยไม่พบว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเลย



III. ปัจจัยเสริม

        3.1       ระยะเวลาตั้งแต่อยู่ร่วมกันจนกระทั่งมารับการรักษา (DURATION OF INFERTILITY) ระยะเวลาที่น้อยกว่า ปี มีอัตราการตั้งครรภ์ 20% แต่ถ้านานกว่านั้น จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 10% ต่อรอบเดือนเท่านั้น

        3.2       สูตรการกระตุ้นไข่ (PROTOCOL OF OVULATION INDUCTION) สูตรที่ได้ผลดีคือ 

        *           สูตรที่ประกอบด้วยยากิน (CLOMIPHENE CITRATE) และยาฉีด HMG (HOMUN MENOPAUSAL GONADOTROPIN) ซึ่งได้ผลสำเร็จ 15% ต่อรอบเดือน

อีกสูตรหนึ่งซึ่งได้ผลดีเช่นกัน คือ 

        *           สูตรที่ประกอบด้วยยาฉีด HMG และยากดการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (GnRH AGONIST) ซึ่งได้ผล มีอัตราการตั้งครรภ์ 27% ต่อรอบเดือน

        3.3       การให้สาร HCG (HUMAN CHORIONIC GONADOTROPHIN) ก่อนไข่ตก

รอบเดือนที่มีการกระตุ้นให้ไข่ตก ด้วยสาร HCG จะมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่ารอบเดือนที่ไม่ได้ให้สารนี้กระตุ้น (ร้อยละ 13 & ร้อยละ ตามลำดับ)

3.4การเจาะท้องส่องกล้องก่อนการรักษา (PRETREATMENT DIAGNOSTIC LAPAROSCOPY) 

ในกรณีที่ฉีดสีเข้าโพรงมดลูก (HYSTEROSALPINGOGRAPHY) แล้วท่อนำไข่ทั้งสองข้างไม่มีการอุดตัน อาจไม่จำเป็นต้องเจาะท้องส่องกล้อง (LAPAROSCOPE) ก็ได้

สตรีมีบุตรยากที่ไม่ได้เจาะท้องส่องกล้อง แต่ทราบจากการฉีดสีเข้าโพรงมดลูกว่า ท่อนำไข่ทั้งสองข้างไม่มีการอุดตัน จะมีอัตราการตั้งครรภ์จากการฉีดเชื้อ (IUI) 17% ต่อรอบเดือน แต่ในกลุ่มที่จำเป็นต้องทำการเจาะท้องส่องกล้อง จะพบว่ามีอัตราการตั้งครรภ์เพียง 11% ต่อรอบเดือน เป็นไปได้ว่า กลุ่มที่ทำการเจาะท้องส่องกล้อง ส่วนใหญ่จะมีพยาธิสภาพภายในอุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์มากกว่า

การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลุก (IUI) เป็นการผสมเทียมที่นิยมใช้มากที่สุดในการรักษาเบื้องต้นของคนไข้มีลูกยาก การฉีดเชื้อ (IUI) จะต้องกระทำร่วมกับการกระตุ้นไข่เสมอ มิฉะนั้น แทบจะไม่ได้ประโยชน์เลย การฉีดเชื้อ (IUI) จะใช้ได้ผลดีในกรณีที่ฝ่ายชายปกติ และฝ่ายหญิงมีปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกหรือหาสาเหตุไม่ได้ โดยมีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 20 แต่จะน้อยลงตามรอบเดือนที่ทำการรักษา มีภาวะแฝดเกิดขึ้นร้อยละ 23.5 เมื่อท้องแล้วยังมีโอกาสแท้งบุตรได้ประมาณ ร้อยละ 15.6

คนเราเกิดมาย่อมต้องมีความหวัง แต่อย่าไปฝากความหวังไว้กับใครบางคนมากจนเกินไป ตั้งความหวังไว้สูง ยามผิดหวังย่อมเสียใจมาก แต่ไม่ตั้งความหวังไว้เลย เมื่อไรจะพบกับความสำเร็จสมหวัง อันธรรมดาคนเราหากหวังสิ่งใดควรเก็บใจไว้สักครึ่งหนึ่งเผื่อไว้สำหรับความผิดหวัง เพราะเมื่อถึงเวลาผิดหวังจริงๆ จะได้เหลือกำลังใจ และพร้อมที่จะเริ่มต้นกับความหวังใหม่ ด้วยดวงใจที่ยังมีพลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เดินทางไปต่างประเทศ

เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพรัก วันที่ 7 มีนาคม 2553 ข้าพเจ้าจะออกเดินทางไประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดในเบื้องต้น 4 วัน คือจะกลับในวันที่ 10 ม...