03 ธันวาคม 2559

รกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ ( Placenta previa )

รกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่น่ากลัวสำหรับสตรีตั้งครรภ์ทุกคน หากเกิดขึ้นกับใคร ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดี การปฏิบัติตัวของสตรีผู้ตั้งครรภ์และการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาร้ายๆของภาวะรกเกาะต่ำได้  ถึงแม้ข้าพเจ้าจะเคยผ่าตัดคนไข้ประเภทนี้มามาก  แต่ต้องก็หนักใจทุกครั้งที่เจอ….. ทำไมหรือ

เพราะเด็กมีโอกาสเสียชีวิตได้ทุกวินาทีขณะที่กำลังผ่าตัด และคนไข้อาจจำเป็นต้องถูกตัดมดลูกทิ้งไปหากหยุดเลือดไม่ได้หลังผ่าตัด     

วันนี้ ตอนเช้ามีโทรศัพท์ติดต่อข้าพเจ้าจากหอผู้ป่วย ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง พยาบาลที่นั่นบอกว่า “ คุณนิสาชล ไปเข้าห้องน้ำ  แล้วมีเลือดออกมามาก หมอจะให้ทำยังไง 

“ เออขอผ่าตัดด่วนเลย  ไม่ต้องสวนถ่ายอะไรทั้งนั้น เพียงแต่ ให้น้ำเกลือและจองเลือด ถุง  ” ข้าพเจ้ารีบสั่งการรักษาไปทางโทรศัพท์ จากนั้น ก็รีบเดินทางออกจากบ้าน 

คุณนิสาชลตั้งครรภ์นี้เป็นครั้งที่ ลูกคนแรกอายุ ขวบ เธอเป็นคนไข้รกเกาะต่ำ วินิจฉัยได้เมื่ออายุครรภ์ 33 สัปดาห์โดยมีเลือดออกจากช่องคลอดประมาณ 500 มิลลิลิตร ซี.ซี. ) ขณะนอนหลับอยู่ เธอได้มารับการรักษาภาวะมีบุตรยากและตั้งครรภ์สำเร็จเมื่อเดือนกันยายนของปีก่อน ดังนั้น เราจึงทราบอายุครรภ์ที่แน่นอน  เธอฝากครรภ์มาตลอดและไม่เคยมีปัญหาใดๆ  ตอนที่ตกเลือดมา  ข้าพเจ้ายังรู้สึกแปลกใจ เพราะ ส่วนใหญ่ คนไข้ตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำจะตกเลือดครั้งแรก ในไตรมาสที่ ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 18 – 24 สัปดาห์ แต่การตกเลือดของคุณนิสาชลเกิดขึ้นในไตรมาสที่ ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อคนไข้อย่างมาก เพราะเด็กตัวโตพอสมควร

ข้าพเจ้าเคยบอกกับคนไข้และสามีเมื่อแรกเข้าพักในโรงพยาบาลว่า “ การตกเลือดของภาวะรกเกาะต่ำมีลักษณะเฉพาะ คือ จะตกเลือดหลายครั้ง  การตกเลือดครั้งแรก เลือดอาจออกไม่มากนัก แต่ครั้งที่ จะตกเลือดมากขึ้น การตกเลือดตั้งแต่ครั้งที่ เป็นต้นไป จะทวีความรุนแรงและอาจไม่สามารถหยุดได้จนกว่าจะผ่าตัดคลอด ” 

ระหว่างที่นอนพักในโรงพยาบาล ข้าพเจ้าได้ให้การรักษา คือ ยาคลายการหดรัดตัวของมดลูก ยาให้เลือดแข็งตัว ยานอนหลับและการเฝ้าสังเกตเลือดที่ออกจากช่องคลอดอย่างใกล้ชิด  สิ่งสำคัญที่สุดของการรักษา ได้แก่ การนอนพักอยู่บนเตียงทั้งวันทั้งคืนโดยลุกได้เฉพาะตอนเข้าห้องน้ำเท่านั้น ซึ่งคนไข้ปฏิบัติตัวได้ดีพอสมควร  ช่วง วันแรกที่นอนพัก คนไข้มีเลือดออกจากช่องคลอดประมาณ 80 - 100 มิลลิลิตร ซี.ซี. ) และทำท่าว่าจะลดลง แต่จู่ๆในวันที่สี่ กลับมีเลือดออกมาอีกตอนตี ปริมาณค่อนข้างมากประมาณ 300 - 400 มิลลิลิตร ซี.ซี. )  ข้าพเจ้าใช้วิธีการเดิม คือ ฉีดยาคลายการหดรัดตัวของมดลูกและยาให้เลือดแข็งตัว ปรากฏว่า สามารถหยุดเลือดได้อีกครั้ง หลังจากนี้ คนไข้ไม่กล้าลงจากเตียงเลยยกเว้นจำเป็นจริงๆ  ยังผลให้ ไม่เกิดการตกเลือดอีกเป็นเวลาเกือบ สัปดาห์ 

ข้าพเจ้าได้ติดตามดูการเจริญเติบโตของลูกคุณนิสาชลโดยการดูอัลตราซาวนด์เป็นระยะๆ  ทารกในครรภ์เติบโตขึ้นตามลำดับ จนมีน้ำหนักประมาณ กิโลกรัม ข้าพเจ้าบอกกับคนไข้ว่า “ เราคงผ่าตัดคลอดบุตร ก่อนที่จะตกเลือดครั้งที่ 3  การผ่าตัดฉุกเฉินย่อมสู้การผ่าตัดโดยเตรียมตัวไม่ได้ เพราะคุณไม่ได้อดอาหารและสวนถ่ายอุจจาระก่อนผ่าตัด ซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดการสำลักช่วงผ่าตัด และท้องอืดหลังผ่าตัด ที่สำคัญกว่านั้น คือ จะเสียเลือดอย่างมากมายจากการผ่าตัดจนต้องให้เลือด ” 

วันนี้ หลังจากสั่งการผ่าตัดด่วนทางโทรศัพท์แล้ว ข้าพเจ้ารีบเดินทางมาที่ห้องผ่าตัดทันที  ก่อนผ่าตัด คุณนิสาชลขอคุยด้วย เธอพูดว่า “ หนูคิดว่า จะให้มานอนเพื่อเฝ้าสังเกตอาการที่ห้องคลอดเหมือนเดิม  ไม่คิดว่า หมอจะให้ผ่าตัดเลย 

ข้าพเจ้าบอกกับคุณนิสาชลว่า “ ไม่ต้องรอแล้ว เพราะอายุครรภ์เกือบ 37 สัปดาห์และคาดว่าเด็กจะหนักประมาณ กิโลกรัม ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาใดๆเกี่ยวกับเรื่องระบบหายใจ  ” 

การผ่าตัดเต็มไปด้วยความตื่นเต้นน่าตกใจอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าลงมีดและผ่าตัดทีละขั้นตอนด้วยความระมัดระวัง พอเปิดเข้าไปในมดลูกส่วนล่าง ก็พบรกขวางหน้า ทางเดียวที่จะเข้าถึงตัวเด็กได้ คือ ข้าพเจ้าต้องเจาะทะลุรกหรือถุงน้ำคร่ำ ซึ่งอยู่ถัดจากขอบรกส่วนล่าง เพราะ…..จากการติดตามตรวจดูด้วยอัลตราซาวนด์หลายครั้ง พบว่า  รกเกาะอยู่ทางด้านบนของมดลูกส่วนที่ชิดกับผนังหน้าท้อง ( Anterior portion of Uterus ) แต่ทว่าส่วนใหญ่เกาะอยู่บริเวณกลางตัวมดลูกเรื่อยลงมาจนคลุมมดลูกส่วนล่างและปากมดลูก ดังนั้น รกบริเวณมดลูกส่วนล่างจะมีไม่มากนัก การเลาะรกไปทางด้านล่างเพื่อเข้าสู่ภายในถุงน้ำคร่ำ จะทำให้เสียเลือดและรกลอกตัวน้อยที่สุด

การเจาะทะลุถุงน้ำคร่ำเข้าสู่ภายในไม่ใช่เรื่องง่าย ข้าพเจ้าต้องเซาะรกไปทางด้านหน้าตามที่วางแผนจนพบถุงน้ำคร่ำ  เลือดไหลตลอดเวลา ในที่สุดก็สามารถเจาะทะลุถุงน้ำคร่ำสำเร็จ แต่ปรากฏว่า ไม่สามารถทำคลอดทารกออกมาได้ เพราะน้ำคร่ำไหลออกอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อที่ภายในโพรงมดลูกยุบตัวลง ยิ่งกว่านั้น บริเวณทางออกปากแผลผ่าตัดของมดลูกส่วนล่าง ก็ค่อนข้างแคบ เนื่องจากมีรกส่วนหนึ่งขวางอยู่

 ข้าพเจ้าร้องตะโกนโดยไม่รู้ตัว ว่า“ ตายแล้ว ตายแล้ว ทำคลอดท่าหัวไม่ได้ เพราะตัวเด็กลอยขยับสูงขึ้นไป ” ขณะนั้น ทารกเปลี่ยนจากท่าหัวเป็นท่าขวาง โชคดีที่แขนขาของทารกอยู่ทางส่วนล่างของมดลูก ทำให้สามารถจับขาของทารกได้ข้างหนึ่ง  ข้าพเจ้าลองดึงขาข้างนั้นข้างเดียวเพื่อทำคลอดส่วนก้นของทารก แต่ทารกไม่ขยับตาม ข้าพเจ้าจึงลวงมือเข้าไปในโพรงมดลูกอีกทีเพื่อจับขาอีกข้างหนึ่ง ก็เกี่ยวเอาส่วนแขนออกมา หลังจากนำเอาแขนของทารกกลับเข้าไปในมดลูก ข้าพเจ้าค่อยๆล้วงควานหาขาอีกข้างหนึ่งของเด็กจนพบ และดึงตัวเด็กออกมาในท่านอนหงาย  

กว่าจะทำคลอดได้ ข้าพเจ้ารู้สึกใจหายใจคว่ำตลอดเวลา เนื่องจากกลัวรกจะลอกตัวและเลือดไหลออกจากตัวเด็ก ทำให้เด็กตายได้  พอเด็กคลอดส่วนหัวออกมาอย่างปลอดภัย ข้าพเจ้าถึงกับอุทานว่า “ โอ้โห..แทบตายเลย    จากนั้น  จึงส่งเด็กให้กุมารแพทย์ เพื่อดูแลต่อไป

รกเกาะต่ำเป็นภาวะที่น่ากลัว  และอันตรายอย่างยิ่ง  สตรีตั้งครรภ์ทุกคนที่มีภาวะนี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจไม่จะโชคดีเสมอ คนไข้สตรีหลายคนต้องสูญเสียลูกเนื่องจากอายุครรภ์น้อยเกินไป แต่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดบุตรฉุกเฉิน  มิฉะนั้นจะตกเลือดมากจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตตัวคนไข้เอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ความรู้ทางการแพทย์ก้าวหน้าอย่างมาก ทารกน้อยที่คลอดก่อนกำหนด จึงมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย

ภาวะรกเกาะต่ำเป็นเรื่องที่แปลก  แปลกตรงที่ใช้ ‘ การนอน ’ ช่วยเหลือในการดูแลรักษาการตกเลือดได้เป็นอย่างดี   “ การนอนอยู่บนเตียงเฉยๆตลอดทั้งวันทั้งคืน ” เพียงอย่างเดียว  ดีกว่า วิธีการรักษาอื่นใดเลย  เผลอๆไม่ต้องให้ยารักษาด้วย   ห่วงแต่ว่า  คนไข้สตรีตั้งครรภ์จะเบื่อเท่านั้น โดยเฉพาะ…… คนที่เป็นโรคนอนไม่หลับ…………



&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เดินทางไปต่างประเทศ

เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพรัก วันที่ 7 มีนาคม 2553 ข้าพเจ้าจะออกเดินทางไประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดในเบื้องต้น 4 วัน คือจะกลับในวันที่ 10 ม...