03 ธันวาคม 2559

ภาวะน้ำเดินก่อนเวลาอันควร

ภาวะน้ำเดินก่อนเวลาอันควร ( Premature ruptured of amniotic membrane)

ในระหว่างตั้งครรภ์ คนไข้สตรีควรหมั่นไปพบสูติแพทย์ตามนัดหรือเมื่อมีปัญหา เพราะปัญหาของสตรีตั้งครรภ์มีมากมาย บางครั้งหมอช่วยเหลือได้ บางครั้งช่วยเหลือไม่ได้ แต่……อย่างน้อยก็น่าจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนให้ลดลง 

เมื่อวานมีคนไข้สตรีรายหนึ่งมาตรวจแผลผ่าตัดหลังคลอด สัปดาห์ ความจริง เธอยังไม่ถึงกำหนดคลอดเลย ต้องรออีก เดือนจึงจะถึงกำหนดคลอด แต่เผอิญเกิดปัญหาน้ำเดินขึ้นมาก่อน ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงแก้ไขวิธีอื่นได้นอกจากผ่าตัดให้คลอดหลังจากพยายามช่วยเหลืออยู่นานประมาณ สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม คงเป็นความโชคดี ทารกที่คลอดออกมา ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก เพียงแต่ตัวเล็กไปหน่อย ปัญหาภาวะน้ำเดินนี้เป็นเรื่องที่พบบ่อย ดังนั้น สตรีตั้งครรภ์ควรเรียนรู้เอาไว้

คนไข้รายนี้มีชื่อว่า คุณเทวพร ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่ มาฝากท้องตั้งแต่ต้นและไม่เคยผิดกำหนดนัดหมาย  ลูกคนแรกของเธอขณะนี้อายุได้ ขวบ  คลอดโดยการผ่าตัดออกทางหน้าท้อง เนื่องจากอยู่ในท่าก้นและตัวใหญ่ น้ำหนักแรกคลอดมากถึง 3500 กรัม

วันหนึ่ง คนไข้รายนี้มีปัญหาเรื่องน้ำเดินก่อนเวลาอันควร( Premature rupture of  membrane ) ข้าพเจ้าจึงต้องให้คนไข้เข้ามานอนรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องจากอายุครรภ์ขณะนั้นยังน้อยอยู่ เพียง 28 สัปดาห์  4 วัน  

เรื่องน้ำเดินก่อนเวลาอันควร ( Premature rupture of membrane ) เป็นเรื่องใหญ่ที่คนไข้หลายคนไม่เข้าใจ   ความหมาย ก็คือ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอดนานมากเกินกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งจะมีผลทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทั้งแม่และลูก 

แม่อาจได้รับการติดเชื้อภายในโพรงมดลูกที่รุนแรง จนอาจจำเป็นต้องตัดมดลูกทิ้ง ส่วนลูกในครรภ์ก็อาจตายจากการติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน ปัจจุบัน การแพทย์เจริญก้าวหน้าและยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพสูง ทำให้กุมารแพทย์สามารถช่วยเหลือชีวิตคนไข้และลูกได้อย่างปลอดภัยเป็นส่วนมาก ยกเว้น คนไข้มาโรงพยาบาลช้าเกินไป จนเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงแล้ว

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ อายุครรภ์ขณะที่เกิดภาวะน้ำเดิน  หากอายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ ทารกถือว่าอยู่ในภาวะอันตราย เพราะทารกตัวเล็กมากและปอดยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร  การที่จะรักษาชีวิตของทารกไว้ให้ได้ ทารกต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษและอยู่ตู้อบในห้องไอ.ซี.ยูเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทารกจะรอดหรือไม่ นอกเหนือจากสภาพของตัวทารกเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของคณะแพทย์และพยาบาล รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยของไอ.ซี.ยู.ทารกแรกเกิดเป็นสำคัญ

วันนั้น ยังจำได้ คุณเทวพรได้โทรศัพท์มาบอกกับข้าพเจ้าว่า “ มีน้ำเดินออกมาจากช่องคลอด หนูได้เข้าไปตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแถวบ้าน หมอบอกว่า มีน้ำเดินจริงแต่หยุดแล้ว จึงให้หนูกลับมานอนรักษาตัวที่บ้านก่อน ตอนนี้หนูมีน้ำเดินออกมาอีก  หมอจะให้ทำยังไง ? ”

“ ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ผมอยากให้คุณเทวพรเข้ามานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจตอนนี้เลยเพราะภาวะน้ำเดินนั้นอันตรายมาก ” ข้าพเจ้าตอบกลับไป

ตอนแรก คุณเทวพรก็ไม่อยากมานอนโรงพยาบาล แต่พอรู้ว่าอันตรายจึงยินยอม เมื่อเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลแล้ว ข้าพเจ้าได้ตรวจดูด้วยอัลตราซาวนด์ให้ ปรากฏว่า ทารกยังแข็งแรงดี มีขนาดเท่ากับอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ และน้ำคร่ำยังเหลืออยู่ค่อนข้างมาก

ข้าพเจ้าบอกกับคนไข้ว่า “ การรักษาโรคนี้ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่นอนอย่างเดียว ห้ามลุกออกจากเตียงโดยเด็ดขาด แม้แต่จะปัสสาวะ อาจยกเว้นให้เฉพาะลุกออกไปถ่ายอุจจาระได้เท่านั้น 

“ หนูต้องนอนโรงพยาบาลนานเท่าใด  ” คุณเทวพรถาม

“ นานที่สุดเท่าที่ทารกจะปลอดภัย อย่างน้อยควรให้ได้ถึงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ถ้าให้ดีควรเกิน 36 สัปดาห์ ยิ่งครบ 38 สัปดาห์ ถือว่า ปลอดภัยแน่นอน ” ข้าพเจ้าตอบ

“ อย่างนั้น หนูต้องนอนที่นี่นานถึง เดือนเลยหรือหมอ ” คนไข้ถาม

“ ถ้าอยู่ได้ถึงเวลานั้น ก็คงจะดี แต่หมอคิดว่า ไม่น่าจะถึง เพราะฉะนั้น คุณต้องพยายามไม่ลุกออกจากเตียงโดยไม่จำเป็น  ไม่ต้องอาบน้ำ ให้เช็ดตัวที่เตียง ” ข้าพเจ้าพยายามเน้นเรื่องการนอนเฉยๆอยู่บนเตียงตลอดเวลา เพราะนั่นคือ วิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับภาวะน้ำเดินสำหรับคนไข้ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ซึ่งเราไม่สามารถอนุญาตให้คลอดถ้าไม่จำเป็นจริงๆ

“ ระหว่างนี้ หนูต้องทำอะไรบ้าง ” คุณเทวพรถาม

“ ใส่ผ้าอนามัย เพื่อดูว่ายังมีน้ำเดินออกมาจากช่องคลอดอีกมากน้อยแค่ไหน และหมั่นสังเกตตัวเองว่า มีไข้ขึ้นหรือเปล่ามีอาการปวดท้องน้อยหรือไม่ ถ้ามีไข้ขึ้น ปวดท้องน้อย หรือน้ำคร่ำที่ไหลออกมามีกลิ่นเหม็น ก็แสดงว่า มีการติดเชื้อเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าอันตรายมาก จำเป็นต้องรีบให้คลอดทันที แต่..ตราบใดที่ไม่มีอาการแสดงดังกล่าว คุณสามารถนอนต่อไปได้เรื่อยๆจนกว่าเด็กจะปลอดภัย จึงให้คลอดออกมา ” ข้าพเจ้าอธิบายในส่วนของการปฏิบัติตัว

“ ถ้าลูกหนูคลอดออกมาตอนนี้ ลูกหนูจะเป็นยังไงและต้องอยู่ตู้อบนานไหม? ” คนไข้ถามต่อ

“ ถ้าคลอดออกมาตอนนี้ เด็กจะหนักประมาณ 1000 กรัม และปอดยังทำงานไม่ได้ดี หมอเด็กต้องใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่คลอด เด็กต้องอยู่ดูแลในตู้อบของไอ.ซี.ยู.เด็กตลอดเวลา หมอเด็กต้องให้ยาฆ่าเชื้อ บางทีต้องให้โปรตีนและยาเพิ่มภูมิต้านทาน ซึ่งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสน เพราะฉะนั้นคุณต้องอดทนนอนนิ่งๆบนเตียง ห้ามลุกไปไหนโดยไม่จำเป็น  ผมเคยมีคนไข้รายหนึ่งคลอดบุตรตอนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง หมอเด็กได้ช่วยแบบที่กล่าวข้างต้น เด็กต้องอยู่ดูแลในโรงพยาบาลนานถึง เดือน เสียค่าใช้จ่ายประมาณ แสนบาท แต่ก็ยังโชคดี ที่ลูกของเขาไม่มีปัญหาอะไรเลย ซึ่งจะมีสักกี่คนที่โชคดีอย่างนี้ ” ข้าพเจ้าพยายามจะพูดอธิบายโดยยกตัวอย่างจริงเพื่อให้คนไข้เข้าใจและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด

คำอธิบายของข้าพเจ้าได้ผล คนไข้สามารถปฏิบัติตัวได้เป็นอย่างดี ภาวะน้ำเดินค่อยๆลดลง บางวันไม่มีน้ำเดินออกมาเลย ระหว่างนี้ข้าพเจ้าได้ให้ยา( dexamethazone ) ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา วันเพื่อช่วยเร่งการพัฒนาของปอดเด็ก เผื่อว่า จำเป็นต้องคลอด 

ในวันที่ ของการนอนรักษาตัวของคุณเทวพร  ตอนเวลาประมาณ และ นาฬิกา  คนไข้มีน้ำเดินออกมาจำนวนมาก ครั้ง ตอนเช้า พอพยาบาลรายงานให้ทราบ ข้าพเจ้าจึงให้คนไข้ไปตรวจดูด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ ปรากฏว่า น้ำคร่ำเหลืออยู่ในโพรงมดลูกน้อยมาก แต่เด็กยังมีชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าบอกกับคุณเทวพรว่า  “ ต้องผ่าตัดคลอดเดี๋ยวนี้ ทิ้งไว้นาน ตัวเด็กอาจเบียดสายสะดือจนขาดออกซิเจนตายได้ 

คนไข้รู้สึกตกใจและถามอีกว่า  “ ลูกของหนูคลอดออกมา จะเป็นอะไรไหม? ”

“ ตอนนี้ยังบอกอะไรไม่ได้ แต่ผมได้ให้ยาช่วยพัฒนาปอดเด็กไปแล้ว ลูกของคุณอาจจะดีก็ได้ ” ข้าพเจ้าไม่กล้ารับรองอะไรทั้งนั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับโชคชะตา

คนไข้ได้รับการผ่าตัดคลอดหลังจากนั้นไม่นาน เธอได้รับการดมยาโดยวิธีฉีดยาสลบเข้าไขกระดูกสันหลัง จึงรู้สึกตัวตลอดเวลาระหว่างผ่าตัด การผ่าตัดเป็นไปอย่างเรียบร้อย ทารกอยู่ในท่าก้น น้ำหนักแรกเกิด 1340 กรัม ตัวเล็กมาก แต่ร้องดี ที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จึงนับว่า โชคดีมาก

คุณเทวพรได้เห็นลูกของเธอในสภาพที่แข็งแรงปลอดภัยตั้งแต่แรกคลอดเลย เธอรุ้สึกดีใจจนน้ำตาไหลรินออกมา ข้าพเจ้าเองก็ดีใจด้วย 

 คนไข้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพียง วัน ก็ขอกลับบ้านไปก่อน โดยทิ้งลูกน้อยให้ห้องทารกแรกเกิดเลี้ยงจนกว่าเด็กจะมีน้ำหนักเกิน 2000 กรัม ซึ่งคงต้องใช้เวลาประมาณ เดือน

ภาวะน้ำเดิน เกิดจากถุงน้ำคร่ำรั่ว ปกติถุงน้ำคร่ำมี ชั้น การรั่วของถุงน้ำคร่ำจึงอาจมีการรั่วมากหรือน้อยก็ได้ ถ้าถุงน้ำคร่ำรั่วเพียงเล็กน้อย ถุงน้ำคร่ำจะสามารถสร้างขึ้นมาปิดตัวเองได้ แต่ต้องใช้เวลา  ตั้งแต่ สัปดาห์จนถึงกินเวลาเป็นเดือน

ถ้าถุงน้ำคร่ำรั่วมาก คงไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นมาปิดเองได้ การที่ให้คนไข้มานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น ก็เพียงแค่รอเวลาเพื่อให้ยาพัฒนาปอดทารก เมื่อให้ยาครบกำหนด วันแล้ว จึงพิจารณาให้ทารกคลอดตามความเหมาะสม 

การแพทย์เจริญก้าวหน้า แต่คนไข้ก็ต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจตามไปด้วย สาเหตุของภาวะน้ำเดินก่อนเวลาอันควร ส่วนใหญ่ไม่ทราบ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงและอาจเป็นสาเหตุได้  คือ การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ยิ่งถ้ามีน้ำใสๆไหลออกมาจากช่องคลอด  ให้คิดไว้ก่อนว่า อาจจะเป็น “ น้ำคร่ำ   ห้ามคิดว่า เป็นปัสสาวะที่ไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว และขอให้หยุดการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า ไม่ใช่ “ น้ำเดิน 

ความหวังของคนท้องทุกคน ก็คือ คลอดลูกที่แข็งแรงสมบูรณ์ แต่ทุกอย่างจะเป็นไปดังที่หวังหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่ใครจะคาดการณ์ได้ อย่างกรณี “ น้ำเดิน ” ของคุณเทวพร ซึ่งถ้าไม่รู้และคิดว่าไม่เป็นไร ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานผ่านไป โดยใช้ชีวิตตามปกติ ก็อาจต้องสูญเสียลูกน้อย พรของเทพเจ้าใดๆ คงไม่สามารถช่วยเหลือได้ ความรู้ความเข้าใจต่างหากที่จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา และเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลับกลายเป็นดี.

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เดินทางไปต่างประเทศ

เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพรัก วันที่ 7 มีนาคม 2553 ข้าพเจ้าจะออกเดินทางไประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดในเบื้องต้น 4 วัน คือจะกลับในวันที่ 10 ม...