03 ธันวาคม 2559

การเลือกเพศโดยการวิเคราะห์ตัวอ่อน( PGD)

การเลือกเพศโดยการวิเคราะห์ตัวอ่อน( PGD)

วันนี้ เป็นวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม สำหรับคนทั่วๆไป ก็ไม่มีอะไรให้ตื่นเต้น แต่ถือได้ว่า เป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของคุณวรวรรณ เพราะเธอได้มาตรวจเลือดทดสอบการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง  และผลปรากฏว่า เธอตั้งครรภ์สำเร็จได้ลูกชายตามต้องการ   

ทำไม  ข้าพเจ้าจึงใช้คำว่า สำคัญที่สุด  ทั้งนี้ก็เนื่องจากคุณวรวรรณได้มารับการรักษาเพื่อเลือกเพศบุตรจากตัวอ่อนด้วยวิธี PGD prenatal genetic diagnosis ) กับข้าพเจ้าเป็นเวลานานหลายเดือนก่อนที่จะมาถึงวันนี้ 

ตอนเช้า เวลาประมาณ 9 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลฯโทรศัพท์มาแจ้งให้ทราบครั้งหนึ่งแล้วว่า คุณวรวรรณมาเจาะเลือดตรวจการตั้งครรภ์ ข้าพเจ้ายังหวั่นใจว่า เธอจะไม่ตั้งครรภ์ เนื่องจาก 5 วันก่อน คุณวรวรรณได้โทรศัพท์มาบอกว่า ปวดท้องน้อย ลักษณะคล้ายปวดประจำเดือนหลังจากหยอดตัวอ่อนไป 4  วัน 

ชั่วโมงหลังจากคนไข้เจาะเลือด เจ้าหน้าที่ฯได้โทรศัพท์มาเข้ามือถือข้าพเจ้าเพื่อบอกผลอีกครั้ง ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นและหวั่นใจอย่างมาก..ว่า คำตอบคือ  ไม่ท้อง ซึ่งคงต้องหาคำอธิบายว่า  ทำไมถึงไม่ท้อง?   ตอนนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกราวกับหัวใจหยุดเต้นในขณะที่รอฟังผล ความหวั่นใจนี้ เกิดจากการที่คนไข้เสียเงินไปเป็นจำนวนมาก และเคยโทรศัพท์มาเล่าถึงความไม่สบายใจเรื่อง อาการปวดท้องน้อยและความกลัวว่าจะไม่ท้อง

ผลเลือดของคุณวรวรรณ(bhCG) เท่ากับ 132 (mIU/ml) ค่ะ เสียงจากพยาบาลคนเดิมพูด คำพูดประโยคนี้ทำให้ข้าพเจ้าดีใจอย่างบอกไม่ถูก  รู้สึกเหมือนกับว่า ถูกรางวัลที่ จากการประกาศผลสลากกินแบ่งรัฐบาลเลยทีเดียว

ข้าพเจ้าได้โทรศัพท์กลับไปบอกคุณวรวรรณทันทีที่ทราบผล..ว่า ยินดีและดีใจด้วยนะ!   คุณวรวรรณท้องแล้ว 

 จริงหรือคะ   คุณวรวรรณย้อนถาม

 จริงซิ  เพราะผลเลือดของคุณวรวรรณ เท่ากับ 132 หน่วย (mIU/ml)  ถ้าค่าผลเลือด(bhCG)เกินกว่า 25 หน่วย ก็หมายถึงท้อง  นี่ของคุณเกินมาต้องเยอะ แสดงว่า ท้องแน่นอน  

ดีใจจังเลย เพราะคราวนี้ หนูลองคิดคำนวณดู หนูใช้เงินไปประมาณ 5 แสนบาท ถ้าไม่ท้อง คงเสียดายแย่เลย คุณวรวรรณพูดด้วยความดีใจ และคลายความกังวลต่อผลการรักษา หลังจากนั้น เธอก็ถามต่อว่า หนูต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซม ว่าเด็กผิดปกติหรือเปล่าคะ

ไม่ต้องหรอก เพราะการเลือกเพศโดยการตรวจวิธี PGD (ย่อมาจาก prenatal genetic diagnosis) นี้เป็นการวิเคราะห์จากโครโมโซมของตัวอ่อนโดยตรงอยู่แล้ว ซึ่งปกติเราจะใช้วิธี PGD (prenatal genetic diagnosis) นี้กับคู่สามีภรรยาที่มีบุตรพิการในครรภ์ก่อนๆ

คุณวรวรรณมีบุตรสาว คน ซึ่งข้าพเจ้าเป็นคนผ่าตัดคลอดให้ทั้งหมด ลูกๆ ของเธออายุ 7 ขวบ, 4 ขวบ และ 3 ขวบ ตามลำดับ ปัจจุบัน คุณวรวรรณอายุ 35 ปี ลูกคนสุดท้อง ก็เกิดจากการเลือกเพศเหมือนกัน แต่ใช้วิธีคัดเชื้ออสุจิแยกเพศ   การคัดเชื้ออสุจิแยกเพศชายนั้น ให้ผลสำเร็จได้เพศตามต้องการเพียง 70% เท่านั้น ซึ่งปรากฏว่า เธอตั้งครรภ์สำเร็จในการรักษาครั้งแรก แต่ได้บุตรเพศหญิง ดังนั้น การเลือกเพศบุตรครั้งนี้จึงไม่กล้ากลับไปใช้วิธีเดิม อย่างไรก็ตาม บุตรสาวคนที่สาม ก็ไม่ได้ทำให้เธอและสามีผิดหวัง เพราะเป็นเด็กที่ฉลาดปราดเปรื่องมาก

PGD  prenatal genetic diagnosis  เป็นวิธีการวิเคราะห์ตัวอ่อนมนุษย์ตอนอายุ วัน โดยการใช้เข็มที่ทำด้วยหลอดแก้วเล็กๆ เจาะเข้าไปในผนังที่ห่อหุ้มตัวอ่อนขนาด 6 – 8 เซลล์ แล้วดูดและดึงลากเอาเซลล์ออกมา 1 – 2 เซลล์  เซลล์ที่เอาออกมาจะถูกนำไปย้อมสีสังเคราะห์และวิเคราะห์โครโมโซม  โครโมโซมที่ได้จะบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของตัวอ่อน  และสามารถบอกได้ถึงเพศด้วย   ดังนั้น  วิธีการ PGD  prenatal genetic diagnosis )  จึงนำมาใช้เลือกเพศให้กับคู่สมรสได้ด้วย        

คุณวรวรรณเป็นบุคคลที่น่าสนใจในเรื่องการรักษาวิธีนี้ เพราะใช้เวลาในการรักษานานกว่า เดือน เสียเงินกว่า แสนบาท  ฉีดยากระตุ้นไข่กว่า 30 เข็ม  นับว่า เป็นการลงทุนที่มหาศาล   เพื่อเสี่ยงกับวิทยาการสมัยใหม่ ที่เรียกว่า  PGD  prenatal genetic diagnosis )  และ การหยอดตัวอ่อนในระยะฝังตัว ( Blastocyst Transfer ) โดย

ต้นเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว  คนไข้ได้รับการกระตุ้นไข่ โดยใช้ ยาพ่น( Suprefact E ) ร่วมกับยาฉีด Metrodine HP ) เป็นเวลา 12 วัน  และเจาะไข่ในวันที่ 15 ของประจำเดือน ได้ไข่ 6ใบ เมื่อนำไปทำ อิ๊กซี่ ( ICSI) แล้ว ปรากฏว่า ได้ตัวอ่อน 3 ตัว ข้าพเจ้าได้แนะนำให้แช่แข็งตัวอ่อนทั้งหมด ( Freezing )  เนื่องจากหากนำตัวอ่อนเพียง ตัวไปทำ PGD แล้วอาจไม่ได้เพศชายเลยก็เป็นได้ ที่สำคัญ คือ เสียเงินค่าทำ PGD อย่างมาก ดังนั้นเราจึงยุติแค่นั้นก่อน และวางแผนจะกระตุ้นไข่อีกหลังจากพักผ่อนประมาณ 2-3 เดือน

เดือนธันวาคม  คนไข้ได้รับการกระตุ้นไข่เป็นครั้งที่ 2   คราวนี้ มีการเปลี่ยนแปลงยาฉีดกระตุ้น ( Gonal - F) เป็นคนละตัว  ซึ่งผลปรากฏว่า เมื่อฉีดยาได้ วัน ตรวจได้ไข่โต เพียง 3  ใบ  ทำให้ต้องยกเลิกการทำไปก่อน ถ้าขืนทำต่อ จะเสียเงินโดยไม่คุ้มค่า เนื่องจากไข่อาจได้น้อยกว่า 3 ใบ และ เมื่อเจาะไข่ใส่ตัวอสุจิเข้าไป(ในกระบวนการ อิ๊กซี่)แล้ว อาจได้ตัวอ่อนเพียงแค่ 1-2 ตัว 

ข้าพเจ้าขอให้คุณวรวรรณเว้นระยะเวลาในการกระตุ้นไข่ออกไปอีกนานกว่า 3 เดือน ข้าพเจ้าได้อธิบายให้เธอและสามีฟังว่า เพื่อให้รังไข่ ซึ่งมีขนาดใหญ่จากการกระตุ้น ค่อยๆหดตัวกลับคืนสู่สภาพเดิม นอกจากนั้น ยังทำให้ร่างกายไม่ต่อต้านต่อยากระตุ้น การต่อต้านของร่างกายต่อยากระตุ้นไข่ ย่อมส่งผลให้ได้จำนวนไข่จากการกระตุ้นน้อยเกินไป 

กลางเดือนเมษายน ของปีนี้ (เว้นระยะห่างจากกางกระตุ้นครั้งก่อน 4 เดือน)  ข้าพเจ้าได้กระตุ้นไข่ให้คุณวรวรรณเป็นครั้งที่ 3  โดยวางแผนจะใช้ยากระตุ้นตัวเดิม ( Metrodine HP ) เพราะครั้งแรกกระตุ้นได้ไข่จำนวนมากกว่าครั้งที่ แต่ยาตัวเดิมเลิกผลิตไปแล้ว  จึงจำเป็นต้องใช้ยากระตุ้นไข่ตัวใหม่( Gonal - F) อีกครั้ง  โดยเพิ่มขนาดยาให้มากกว่าที่ใช้ในครั้งที่   ไข่ที่ได้จากการกระตุ้นครั้งนี้มี 10 ใบ แต่เจาะดูดออกมาได้ ใบ เท่ากับคราวที่แล้ว  แต่เมื่อนำมาทำ อิ๊กซี่ ( เจาะไข่ใส่ตัวอสุจิ) ปรากฏว่า มีการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนระยะแรก( pronuclear stage) แค่ ตัว

เมื่อนำตัวอ่อนแช่แข็งอีก ตัวจากคราวก่อนมาละลาย ตัวอ่อนรอดทั้ง 3 ตัว ดังนั้นเราจึงได้ตัวอ่อนระยะแรก (pronuclear stage) รวมทั้งหมด ตัวที่มีอายุ วัน   พอตัวอ่อนเจริญจนอายุได้ วัน ตัวอ่อนทุกตัว ซึ่งมีเซลล์ภายใน 6 – 8 เซลล์  ได้ถูกนำไปทำ PGD    ผลปรากฏว่า ได้ ตัวอ่อนปกติ ตัว เป็นเพศชาย ตัว และเพศหญิงอีก ตัว ซึ่งตัวอ่อนเพศชายทั้งสองตัว จะถูกนำไปหยอดในระยะฝังตัว (Blastocyst) ต่อไป

ตัวอ่อนระยะฝังตัว (Blastocyst) เป็นตัวอ่อนอายุ วันหลังจากปฏิสนธิ มีคุณสมบัติที่ดี คือ สามารถฝังตัวได้ (Implantation) ในวันที่หยอดตัวอ่อน ไม่ต้องเสียเวลาในการเจริญแบ่งตัวเพิ่มเติมอีก  ลักษณะรูปร่างของมัน คือ มีการแยกกลุ่มเซลล์ ออกเป็น ส่วน กลุ่มเซลล์ที่รวมเป็นกระจุกอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า Inner cell mass  ส่วนกลุ่มเซลล์ที่อยู่รายรอบ เรียกว่า Trophectoderm  ตัวอ่อนแบ่งเป็นเกรด A,B,C ตามความหนาแน่นของเซลล์ และแบ่งเป็นระยะ(stage)ตามความสมบูรณ์ คือ Early  Blastocyst, Blastocyst , และ Full Blastocyst

สำหรับ ตัวอ่อนเพศชายของคุณวรวรรณทั้ง 2 ตัว ปรากฏว่า เป็น ตัวอ่อนระยะ Morula ( ช้ากว่าอายุจริงของตัวอ่อน วัน) 1 ตัวและ Full Blastocyst (ตัวอ่อนสมบูรณ์) ตัว ซึ่งแต่ละตัวมาจากไข่คนละชุดของการกระตุ้น  อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าได้หยอดตัวอ่อนเพศชายทั้งสองเข้าไปในโพรงมดลูกอย่างง่ายดายและนิ่มนวล  โดยหลังจากหยอดตัวอ่อน ข้าพเจ้าได้ให้พยาบาลใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ชั่วโมง เพื่อให้คนไข้ได้นอนอยู่บนเตียงนิ่งๆเป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการฝังตัวอย่างมาก

ความจริงแล้ว คุณวรวรรณมีโอกาสไม่มากนักในการหยอดตัวอ่อนครั้งนี้ ถึงแม้ว่า เธอจะเป็นคนท้องง่าย โดยมีปัจจัยเสริม คือ ฮอร์โมนเพศในครั้งนี้อยู่ในเกณฑ์ดีและเยื่อบุมดลูกสมบูรณ์มากจากการสังเกตด้วยอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด  แต่ตัวอ่อนระยะฝังตัวที่สมบูรณ์จริงๆมีเพียงตัวเดียว  ส่วนตัวอ่อนอีกตัวหนึ่งเป็นระยะ Morula หรือ ตัวอ่อนระยะอายุ 4 วัน ซึ่งเป็นตัวอ่อนที่เจริญเติบโตช้ากว่าความเป็นจริง 1 วัน ดังนั้น โอกาสตั้งครรภ์จึงมีไม่มากนัก

ข้าพเจ้าได้พูดขอร้องให้คุณวรวรรณพักผ่อนมากๆ ห้ามยกของหนัก และสวดมนต์ไหว้พระบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เครียด ข้าพเจ้าเองแอบหวังอยู่เงียบๆว่า คุณวรวรรณจะตั้งครรภ์  เนื่องจากเวลาหยอดตัวอ่อน ไม่พบมีปัญหาอุปสรรคใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาปากมดลูกตีบซึ่งต้องมีการถ่างปากมดลูก หรือปัญหาเลือดออกจากปากมดลูกหลังหยอดตัวอ่อน  

วันนี้ ข้าพเจ้ายังคงไม่สบายใจอยู่ดียามเมื่อเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลฯโทรศัพท์มาบอกครั้งแรกว่า คุณวรวรรณได้เข้ามาเจาะเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ และจะทราบผลในอีก 1 ชั่วโมงข้างหน้า    ยังโชคดีที่ผลสุดท้าย ออกมาว่า ท้อง      

 โลกนี้  คนเราต้องอยู่กินและเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา  ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนว่า จะต้องแลกมาด้วยเงิน แม้แต่การเลือกเพศเพื่อให้ได้บุตรตามเพศที่ต้องการ  โดยต้องเสี่ยงกับวิทยาการความรู้สมัยใหม่ ซึ่งไม่ได้รับประกันว่า จะได้ตามที่เราต้องการ 

อย่างไรก็ตาม  การเสี่ยงทำ PGDprenatal genetic diagnosis  นั้น หากมีความจำเป็นและไม่ได้ทำให้ชีวิตครอบครัวต้องเดือดร้อน สิ่งที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะหมายถึง ลูกชายหรือลูกสาวที่สมบูรณ์แข็งแรงตามประสงค์ ดังนั้น ก็น่าที่จะลองเสี่ยงดู....ภายใต้เงื่อนไขว่า ห้องปฏิบัติการตัวอ่อนต้องมีมาตรฐาน รวมทั้งทีมแพทย์ต้องมีประสบการณ์ และผลงานที่ดี.

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เดินทางไปต่างประเทศ

เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพรัก วันที่ 7 มีนาคม 2553 ข้าพเจ้าจะออกเดินทางไประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดในเบื้องต้น 4 วัน คือจะกลับในวันที่ 10 ม...